30 นางสาวนฤมล บุญคงชู

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16

บันทึกอนุทิน



          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน อาจารย์โบว์ก็ได้ให้ดูในที่ติ๊กเกี่ยวกับบล็อกว่าใครทำถึงไหน ใครทำครบแล้วบ้าง จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่นเพื่อให้เรียนว่าเรียนแล้วได้อะไรจากวิชานี้บ้าง นี่คือ ผลงาน 

*ความรู้ที่ได้รับ

ได้รับความรู้จากเนื้อหาในวิชาที่เรียน เพื่อนำไปใช้ในประสบการณ์ที่เราต้องพบเจออย่างเช่น การรายงานต่อหน้าสาธารณะ  การเขียนแผนการเรียน ฯลฯ

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2
          อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนดูวีดีโอเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านภาษาธรรมชาติของ โรงเรียนวัดนางนอง

ความรู้เพิ่มเติม แนวการสอนสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่มีความหมายในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การถามตอบแบบง่ายๆ การเล่านิทาน การช่วยกันแต่งนิทาน การแสดงบทบาทสมมติ เป็นต้น โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และกระตุ้นให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู ในบรรยากาศที่อบอุ่น
      ซึ่งการจัดประสบกาณ์นี้ จะทำให้เด็กซึมซับ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทักษะทางภาษา
       กิจกรรมการเล่นเสรี
  • มุมบ้าน
  • มุมบล็อก
  • มุมคณิตศาสตร์
  • มุมวิทยาศาสตร์
  • มุมศิลปะ
  • มุมหนังสือ

     หลังจากดูจบแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "การเขียนแผนการสอน" โดยแบ่งกลุ่มละ 5 คน 
          ตัวอย่าง   การเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ
  • จุดประสงค์
  • สาระ      (1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 2.บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก)
  • ขัั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน

        ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำแผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"
  • ชื่อ     มะพร้าวมหัศจรรย์
  • จุดประสงค์ - เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ - ให้เด็กนำมะพร้าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • สาระ     สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน     - ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรง ต่างๆ - เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป     เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนของมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรง ลักษณะ สี และสามารถบอกได้
  • ประเมิน     ใช้การสังเกต และแบบประเมิน



การนำเสนอ แผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"


     * ในการทำครั้งนี้  อาจารย์โบว์ได้เน้นในเรื่องของลายมือ ว่าต้องเขียน หัวกลมตัวเหลี่ยม

สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทิน

          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
         
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
         
วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
         
เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2
       

 สัปดาห์นี้ดิฉันหยุดเรียน เลยถามเพื่อนว่าอาจารย์ให้ทำอะไรบาง  เพื่อนก็บอกว่า 'อาจารย์ให้นักศึกษาดูภาพเกี่ยวกับการจุดมุมต่างๆ หลังจากนั้นให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มเท่าๆกัน ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้อง


สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

               สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์สอนเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
          หลักการ
  • สอดคล้องกับวืธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริงเป็นกระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
          สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
          เมื่อสอนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนคัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่าง นี่คือภาพลายมือของดิฉัน

สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


                อาจารย์โบว์พานักศึกษาทำกิจกรรมเต้นประกอบจังหวะกับเพลงก่อนเริ่มสอนเข้าเนื้อหา สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 6คน จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1แผ่น และอธิบายงานให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรม เกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1เกม แล้วบอกวิธีการเล่นพร้อมเขียนว่าตรงกับนักทฤษฎีคนไหน และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเกมนี้ 
               ซึ่งกลุ่มของดิฉัน เลือก เกม ถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา


เกมถอดรหัสคำ

          จากภาพด้านบน ซ้ายมือ
     1. ปาก กา
     2. ปลา ดาว
     3. รถ ไฟ
     4. ผี เสื้อ
     
     5. ถุง เท้า

          จากภาพด้านบน ขวามือ
     วิธีการเล่น
          ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกัน และให้บอกว่าภาพ ภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ
     นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
          บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นหาด้วยตัวเอง
     ตัวอย่าง
          ทฤษฎีการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ 

  •    ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  •  

     ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
          1. เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
          2. เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
          3. เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

          เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้วอาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่ม (สมาชิกทุกคน) ออกมานำเสนอเกมของกลุ่มตัวเอง พร้อมเสริมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนนำเสนอด้วย
          กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มที่ 2 ก่อนเข้าเนื้อหากลุ่มดิฉันชวนเพื่อนๆในห้องเต้นเพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
          เพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
                    *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                    อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                    หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                    หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู
                    (ซ้ำ *)


สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 23 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์เข้าสอน ต้นชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนดูรูปภาพต่อไปนี้ว่ามันคืออะไร


          จากนั้นอาจารย์สอนความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
          ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
          ความสำคัญของสื่อการเรียนรู่้ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และ นาน
  1. สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม       

  2.  สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่างๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
   3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
   4. สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
   5. สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
          หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทำสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา ซึ่งดิฉันเลือกทำ ลิง 

   


สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 16 สิงหาคม พ.ศ.2556


          ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


          สัปดาห์นี้ อาจารย์จินตนาให้อาจารย์โบว์เข้ามาสอนนักศึกษาทุกๆคนทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 10 คน จากนั้นอาจารย์โบว์จึงสอนวิธีทำสื่อต่างๆ และแจกวัสดุอุปกรณ์ให้นักศึกษา 

          สื่อชิ้นแรก คือ หุ่นนิ้ว อาจารย์โบว์ให้ทุกกลุ่มทำเป็นตัวคนทั้ง 10 อาเซียน ยกเว้น ประเทศพม่า ไม่ต้องทำ


          สื่อชิ้นที่สอง คือ Pop Up ที่เคลื่อนไหว เนื่อง


ชิ้นที่สอง คือ ธงชาติอาเซียนสามารถดึงขึ้นดึงลงได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทิน



          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 9 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)

          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

อาทิตย์นี้ดิฉันขาดเรียนจึงได้ถามงานกับเพื่อนว่าอาจารย์สั่งอะไรบ้างเพื่อนก็บอกว่า

          อาจารย์ให้เพื่อนทุกคนเปิด Blogger ของตนเองและให้เพื่อนในห้องช่วยกันเสนอความคิดเห็นว่าของแต่ละคนมีอะไรต้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขบ้าง อาจารย์บอกเสริมให้ใส่เนื้อหาเพิ่มเติมลงไป และอาจารย์บอกให้เน้นควรมีวีดีโอ รูปภาพ เสริมลงไป เมื่อตรวจ Blogger ครบทุกคนแล้วจากนั้นอาจารย์จึงสอนร้องเพลง

    เพลง สวัสดี (ประเทศไทย)
          สวัสดี  สวัสดี                    ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี

    เพลง สวัสดี (หนีห่าว:ประเทศสิงค์โปร)
          หนีห่าว หนีห่าว                  ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี

    เพลง สวัสดี (สะบายดี:ประเทศลาว)
          สะบายดี  สะบายดี              ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี
    เพลง สวัสดี (มิงกะลาบา:ประเทศพม่า)
          มิงกะลาบา  มิงกะลาบา        ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี
    เพลง สวัสดี (กูมูสตา:ประเทศฟิลิปปินส์)
          กูมูสตา  กูมูสตา                  ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                        พบกันสวัสดี
  เพลง สวัสดี (ซาลามัดดาตัง:ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน)
          ซาลามัดดาตัง  ซาลามัดดาตัง   ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                          พบกันสวัสดี
    เพลง สวัสดี (ซินจ้าว:ประเทศเวียดนาม)
          ซินจ้าว  ซินจ้าว                   ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันสวัสดี
    เพลง สวัสดี (จุมเรียบซัว:ประเทศกัมพูชา)
          จุมเรียบซัว จุมเรียบซัว            ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันสวัสดี
    เพลง สวัสดี (เซลามัดปากิ:ประเทศอินโดนีเซีย)
          เซลามัดปากิ  เซลามัดปากิ      ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันสวัสดี

    เพลง Hello (สวัสดี) 
          Hello!                           Hello! How are you?
(แปล)  สวัสดี                           สวัสดี สบายดีหรือ
          I'm fine I'm fine              I hope that you are too.
(แปล)  ฉันสบายดี ฉันสบายดี        ฉันหวังว่าเธอคงจะสบายดี

     เพลง ตบแผละ
          ตบแผละ  ตบแผละ  ตบแผละ  
          ปากใจตรงกันนั้นแหละ
          เรามาลองฝึกกัน
          จิต  กาย  สัมพันธ์กับปากนั้นแหละ
          ในเพลงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กับเพื่อนข้างๆ ร้องเพลงและตบมือให้เข้ากับจังหวะเพลง เพลงแบบนี้ใช้ในการสงบเด็กหรือควบคุมเด็กนั้นเอง

      เพลง บอกว่าน่ารักจัง
          บอกกับคนซ้ายมือ                ว่าน่ารักจัง
          บอกกับคนขวามือ                ว่าน่ารักจัง  (ซ้ำ 1 รอบ)
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกๆคน
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ไม่เว้นสักคน
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกคน
          บอกว่าน่ารักจัง

      เพลง ตา หู จมูก 
          ตา  หู  จมูก  จับให้ถูก
          จับ  จมูก  ตา  หู
          จับใหม่จับให้ฉันดู  จับใหม่จับให้ฉันดู
          จับ  จมูก  ตา  หู
          จับ  หู  ตา  จมูก

      เพลง แปรงฟัน
          แปรง  ซิ  แปรง  แปรง  ฟัน
          ฟัน  หนู  สวย  สะอาด  ดี

     เพลง แมงมุมลายตัวนั้น
          แมงมุมลายตัวนั้น         ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
          วันหนึ่งมันเปียกฝน       ไหลลงจากบนหลังคา
          พระอาทิตย์ส่องแสง      ฝนแห้งเหือดไปลับตา
          มันรีบไต่ขึ้นฝา             หันหลังมาทำตาลุกวาว

      เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ
          อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง   ทิ้งแล้วจะสกปรก
          ถ้าเราเห็นมันรก              ต้องเก็บ  ต้องเก็บ  ต้องเก็บ

      เพลง บ้านของฉัน
          บ้านของฉัน                   อยู่ด้วยกันมากหลาย
          คุณพ่อ  คุณแม่               ปู่  ย่า  ตา  ยาย
          อีกทั้งน้าอา                   พี่และน้องมากมาย
          ทุกคนสุขสบาย               เราเป็นพี่น้องกัน

      เพลง ขอบคุณ ขอบใจ

          เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ 
          หนูหนูควรต้องนึกถึงพระคุณ 
          น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ 
          เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ 
          นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ

      เพลง ตาดู หูฟัง
          เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
          คุณครูท่านสอนท่านสั่ง 
          เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

          ก่อนหมดคาบอาจารย์ได้สั่งงาน 
             1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกเพลงกล่อมลูกมา 1 เพลง พร้อมอัดวีดีโอขณะร้องใส่ลง Blogger
             2.ให้นักศึกษาเลือกเพลงที่ชอบมา 1 เพลง และนำมาแปลเพลงเป็นภาษาอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น เพลง สวัสดี ที่ดิฉันนำมาแปลเป็นคำทักทายภาษาต่างในประเทศอาเซียน
             3.ถอดรหัสคำ