30 นางสาวนฤมล บุญคงชู

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

               สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์สอนเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
          หลักการ
  • สอดคล้องกับวืธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริงเป็นกระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
          สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
          เมื่อสอนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนคัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่าง นี่คือภาพลายมือของดิฉัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น